“ปะฉะดะ” มุ่งสู่ Digital Market ระดับสากล
กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดย ผศ.ดร.กฤช จรินโท รองหัวหน้าโครงการได้จัดโครงการบูรณาการประชารัฐร่วมใจพัฒนาวิสาหกิจและเศรษฐกิจชุมชนสู่ Digital Market ระดับสากล โดยได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมการ ชอป เที่ยว 4 ตลาด วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้มีการ เช็คอินและท่องเที่ยว โดยผ่าน เว็บไซต์และ Application “ปะฉะดะ” ซึ่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้ว 4 ครั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในเดือนกันยายน ได้แก่
▪ ตลาดคลองสวนร้อยปี จัดกิจกรรม วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564 โดย นายพลากร โชคพิชิตชัย นายกเทศมนตรีตำบลเทพราช เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายพงศกร หล่อศิริ ปลัดเทศบาลตำบลเทพราช สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเทพราช และนางสุนันทา แสนศิริ เจ้าของตลาดคลองสวน 100 ปีฉะเชิงเทรา
▪ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จัดกิจกรรม วันศุกร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564 โดย นายบุญทวี สุขรัตน์อมรกุล อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา เป็นประธานในกิจกรรม ร่วมด้วย คุณขวัญกมล ฉายแสง และนางฐิติมา ฉายแสง ผู้แทนผู้ประกอบการในตลาดบ้านใหม่ 100 ปี
▪ ตลาดน้ำบางคล้า จัดกิจกรรม วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 นำโดย นายศิริชัย เผ่าบรรจง นายกเทศมนตรีตำบลบางคล้า และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางคล้า ร่วมด้วย คุณบุญมี ศรีสุข ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำบางคล้า
▪ ตลาดโบราณนครเนื่องเขต จัดกิจกรรม วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 โดย นายเลอสรร สายวาณิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลนครเนื่องเขตพร้อมสมาชิกสภาเทศบาลตำบลนครเนื่องเขต เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ซึ่ง Application ดังกล่าว เกิดจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาในการซื้อสินค้าอันเนื่องมาจากโรคโควิดให้กับประชาชนที่สนใจสินค้าและนักท่องเที่ยวในเรื่องการเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ โดยการจับมือกับร้านขายของในตลาดสำคัญทั้ง 4 ตลาดได้แก่ ตลาดบ้านใหม่,ตลาดคลองสวน 100 ปี, ตลาดน้ำบางคล้าและตลาดนครเนื่องเขต
อีกทั้งยังมีวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกันให้ข้อมูลตลาด สินค้าที่น่าสนใจในตลาดรวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานโดยมี 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ให้เกิดขึ้นแบบครบวงจร ซึ่งลูกค้าและนักท่องเที่ยวสามารถแสกนบาร์โค้ดของ Application ปะฉะดะ เพื่อเข้าสู่ระบบเว็บไซต์หรือ Application ที่สนับสนุนทั้งระบบ IOS และ Android ก็จะสามารถทราบถึงข้อมูลร้านค้าในตลาด 4 ตลาดและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ทั้งหมด 30 แห่ง อาทิเช่นประวัติ สินค้าที่โดดเด่น ,รายการอาหาร, ราคา, ช่วงทางการซื้อสินค้า เช่น Facebook Line OA Website ,ตำแหน่งหรือ Location, ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) นักท่องเที่ยวสามารถมีระบบนำทางไปยังตลาดได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย