ฉะเชิงเทรา-ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็ว สร้างความมั่นใจ นักลงทุน และประชาชนในพื้นที่ เดินหน้า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ฉะเชิงเทรา-ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็ว สร้างความมั่นใจ นักลงทุน และประชาชนในพื้นที่ เดินหน้า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

 


เมื่อวันที่ 19 เม.ย 64 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าว “ที่นีแปดริ้ว” รายงานความคืบหน้า ลงมือปรับเคลียริ่งทาง ของบริษัทผู้รับเหมาโครงการ พื้นที่ถนนเลียบทางรถไฟ ฉะเชิงเทรา พานทอง ชลบุรี เป็นที่สนใจ ร่วมยินดี อย่างยิ่งกับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดเส้นทางการก่อสร้าง
เป็นการสร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ในพื้นที่กับเมกะโปรเจกต์ ซึ่งโครงการ รถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-สนามบิน EEC (อู่ตะเภา)ระยะทาง 220 กม. 9 สถานี ดอนเมือง -บางซื่อ -มักกะสัน-สุวรรณภูมิ -แม่น้ำบางปะกง -ฉะเชิงเทรา -ศรีราชา-พัทยา (ลอดอุโมงค์บริเวณช่องเขาชีจรรย์) -อู่ตะเภาการก่อสร้างจากจีนเทคโนโลยีจากอิตาลี


ควบคุมโดยทีมวิศวกรจากญี่ปุ่นและจีนเชื่อมต่อด้วยระบบโทรคมนาคเทคโนโลยี่ดิจิตอล 5G เป็นศูนยกลางสื่อสารเต็มรูปแบบกับรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเปลี่ยน สนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่โดยรอบเทียบเท่าสนามบิน นาริตะของญี่ปุ่นและสนามบินอินชอน ของเกาหลีใต้
ควบคู่ เมืองอัจฉริยะ ที่เดินทาง จากเมืองหลวงเพียงชั่วโมงเศษๆโดยมี นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ท คอร์เปอเรชั่น (NAA โตเกียว)จะมาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยจัดการเชื่อมสนามบิน อู่ตะเภา และบริเวณโดยรอบพื้นที่ มีประชากรกว่า3ล้านคน


ในอีอีซี ทั้ง ฉะเชิงเทราชลบุรี และระยอง บนเนื้อที่กว่า13,000 ตารางกิโลเมตรงบประมาณการลงทุนจากภาคเอกชน 80%รัฐบาล20%
การดำเนินการโครงการ EEC ระยะแรกแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและอีก3-5ปีข้างหน้าจะสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง ที่มาบตาพุดและแหลมฉบังเป็นส่วนหนึ่ง ไทยแลนด์ 4.0เพื่อยกระดับจากประเทศสถานะปานกลาง ไปสู่สถานะประเทศที่พัฒนาแล้วเต็มตัวในปี 2578ภายใต้แผนเปลี่ยนพัฒนาประเทศไปสู่เทคโนโลยีล้ำยุคชีวภาพหมุนเวียน ที่ก่อมลพิษน้อยลง เศรษฐกิจสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ (Smart city)ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์ ในภูมิภาค AEC เชื่อมต่อการขนส่ง ไปยังจีนและอินเดีย และยังเชื่อมต่อทางบกไปยังยุโรปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตรที่เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่EECกำลังก้าวไปอย่างรวดเร็วและต้องก้าวต่อไป..เพื่อเชื่อมโลก ให้ไทยแล่น…

สัมฤทธิ์ ที่นีแปดริ้ว…รายงาน

Related posts