“เฉลิมชัย” เดินหน้านโยบายพืชแห่งอนาคต (Future Food Future Crop) รับมือวิกฤติโควิด19 เร่งพัฒนาให้ความรู้เกษตรกร ดันงานวิจัย ‘กัญชง’ มอบศูนย์ AIC 77 จังหวัดร่วมขับเคลื่อน ‘สวพส.’ เตรียมเมล็ดกัญชง (Hemp) ลอตแรก 5,600 กิโลกรัม พร้อมสนับสนุนการพัฒนากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ (5 พ.ค.) ว่า ตามนโยบายของ รัฐบาลมุ่งสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ รวมทั้งการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะ พืชเศรษฐกิจ “กัญชา-กัญชง-กระท่อม” เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของ ประเทศ หลังจากที่กฎหมายได้อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตผลิต นาเข้า ส่งออก จาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองกัญ ชงได้ ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเป็น “ฮับกัญชา-กัญชง-กระท่อม” อีกทั้งยังเป็นโอกาสของไทยที่จะช่วงชิงตลาด กัญชา กัญชงและกระท่อม มูลค่า 8 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตกว่า 30% ต่อปีและอีก 4 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มเป็น กว่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เดินหน้าส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้าถึงปลายน้าใน 4 รูปแบบ คือ เกษตร อาหาร (คนและสัตว์) เกษตรสุขภาพ เกษตรพลังงาน และเกษตรท่องเที่ยว เพื่อจะสามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นกัญชา กัญ ชง และกระท่อม ทั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายพืชแห่งอนาคต (Future Food Future Crop) ให้เร่งพัฒนาเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกรและ ผู้ประกอบการเกษตรทางด้านความรู้ความเข้าใจ เกยี่ วกับกัญชา กัญชงและกระท่อมในทุกมิติ ตั้งแต่กฎหมายข้อระเบียบจนถึงสถานการณ์ตลาด และราคาทั้งในและต่างประเทศ โดย มอบหมายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AIC ทั้ง77จังหวัดเป็นกลไกสนับสนุนในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะกัญชงซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้วิจัยและพัฒนากัญชงและผลิตภัณฑ์กัญชงมากว่า 17 ปี
ทางด้านนายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อานวยการ สวพส. กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่ศึกษาและวิจัยกัญชงอยู่ในปัจจุบัน จึงได้จัดสรรเมล็ดกัญชงที่ผลิตไว้สาหรับการศึกษาและวิจัยของ สวพส. นามาจาหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมของโครงการหลวงและสวพส. หน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่ดาเนิน โครงการวิจัยร่วมกับ สวพส. หน่วยงานของรัฐ และบุคคลทั่วไป หรือนิติบุคคลที่สนใจ จานวนรวม 5,600 กิโลกรัม และได้ตั้ง คณะอนุกรรมการกาหนดแนวทางการควบคุม การจาหน่าย การกาหนดราคาเมล็ดพันธุ์ ส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ของเฮมพ์ โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ผู้แทนมูลนิธิโครงการหลวง, ผู้แทนสานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), ผู้แทนสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม, ผู้แทนสานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.), ผู้แทนองค์การเภสัชกรรม เพื่อร่วมกันพิจารณากาหนดแนวทางการจาหน่ายและราคาเมล็ดกัญชง ที่เหมาะสมสาหรับการสนับสนุนและผลักดันให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยมีเมล็ดกัญชงที่จะจาหน่าย 2 พันธุ์ คือ RPF1 ที่เหมาะ สาหรับปลูกบนพื้นที่สูงมากกว่า 1,000 เมตร และพันธุ์ RPF3 ที่เหมาะสาหรับปลูกบนพื้นที่สูงระดับ 500-1,000 เมตร จาก ระดับน้าทะเลปานกลาง ซึ่งประกอบด้วย
1. เมล็ดพันธุ์รับรอง (Certified seed) จานวน 3,000 กิโลกรัม โดยจาหน่ายสาหรับเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงและ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ราคา 300 บาท/กก. หน่วยงานภาคีร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนา (Partnership) หรือ หน่วยงานของรัฐ ราคา 400 บาท/กก. และสาหรับบุคคลทั่วไป ราคา 520 บาท/กก. และ 2. เมล็ดบริโภค (Grain) จานวน 2,600 กิโลกรัม โดยจาหน่ายสาหรับหน่วยงานภาคีร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนา (Partnership) หรือหน่วยงานของรัฐ ราคา 250 บาท/กก. และสาหรับบุคคลทั่วไป ราคา 750 บาท/กก.
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย พัฒนา และการทดลองปลูก ได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สวพส. ได้พิจารณาและกาหนดปริมาณเมล็ดที่จะจาหน่ายให้แก่ผู้ขอซื้อแต่ละราย ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1.เมล็ด พันธุ์รับรอง (Certified seed) : สาหรับเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ไม่เกิน 20 กก./ราย หน่วยงานภาคีร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนา (Partnership) หรือหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 30 กก./ราย และสาหรับบุคคลทั่วไป ไม่เกิน 20 กก./ราย 2.เมล็ดบริโภค (Grain) : สาหรับหน่วยงานภาคีร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนา (Partnership) หรือหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 50 กก./ราย และสาหรับบุคคลทั่วไป ไม่เกิน 20 กก./ราย (R&D)
การดาเนินงานที่ผ่านมา สวพส. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วิจัยและพัฒนากัญชง (Hemp) เพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2549 จนถึง ปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาพันธุ์กัญชงจานวน 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 สาหรับการปลูกเพื่อผลิตเส้นใย โดยทุก พันธุ์ ที่มีปริมาณสารเสพติด (THC) 0.2% ซึ่งต่ากว่าที่กฎหมายกาหนด มีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12-14.7% และมีปริมาณสารที่เป็น ประโยชน์ (CBD) 0.8-1.2% และได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2554 และพันธุ์ดังกล่าวจัดเป็นเมล็ดพันธุ์ รับรองตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จาหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 เฉพาะ เฮมพ์ ปี 2559 และเมื่อสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศ “กฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตผลิต นาเข้า ส่งออก จาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563” และ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563” มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ทาให้ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตผลิต นาเข้า ส่งออก จาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองกัญชงได้ โดย ส่วนของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ ใบ เมล็ด (seed และ grain) ราก ลาต้น และสารสกัด CBD ที่มี THC ต่ากว่า 0.2% เป็น ผลให้ความสนใจในการทดลองปลูก และศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกัญชง เพิ่มขึ้นอย่างมากภายในระยะเวลาอันสั้น ในขณะที่ยังไม่มี การผลิตเมล็ดกัญชงไว้ล่วงหน้า
“สาหรับผู้สนใจที่ต้องการขอซื้อ ทั้งเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง หน่วยงานภาคีร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนา (Partnership) หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล สามารถแจ้งความ ประสงค์ขอซื้อ ผ่านทางเว็บไซต์ของ สวพส. https://www.hrdi.or.th/PublicService/HempInfo หรือยื่นเอกสารด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://www.hrdi.or.th/public/files/PublicService/HempInfo/HRDIPurchaseRequestForHemp.pdf ระหว่างวันที่ 26 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 โดยปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่กาหนด ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ https://www.hrdi.or.th/ หรือ Facebook Fanpage : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)” ผู้อานวยการ สวพส. กล่าว