ปทุมธานี-คำรณวิทย์นำทีมคนรักปทุมช่วยเหลือเกษตรสู้ภัยแล้งที่สุดในรอบ30ปี
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 เวลา 10:00 น. ที่ประตูระบายน้ำที่ 11 ตำบลบึงสนั่นรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ชาวบ้านช่วยกันติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ โดยมี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง และทีมคนรักปทุม ลงพื้นที่ช่วยเหลือเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนช่วงภัยแล้ง เนื่องจากเกษตรกรในคลองซอยต่าง ๆ ต้องการน้ำเพื่อใช้เลี้ยงพืชผลทางการเกษตร แต่สภาพระดับน้ำภายในคลองกลับแห้งขอด พืชผลกำลังจะยืนต้นตายจึงจำเป็นที่จะต้องตั้งเครื่องสูบน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์เข้ามายังคลอง 11 เพื่อให้เกษตรใช้น้ำได้ในเบื้องต้น นายเชาว์ จีนจำปา กำนันตำบลนพรัตน์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า
เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลี้ยงพืชผลทางการเกษตร แต่ขณะนี้น้ำภายในสวนแห้งไม่มีรดพืชแล้ว ในเบื้องต้นนี้เรายังสามารถใช้น้ำจากคลอง 11 ได้บ้าง หากน้ำเยอะก็สามารถแบ่งปันน้ำไปยังคลองอื่น ๆ ได้ ต้องขอบคุณ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง และทีมคนรักปทุม ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนจากภัยแล้งนี้ นายวิสานท์ แสวงหา นายก อบต.บึงบา กล่าวว่า ภัยแล้งปีนี้วิกฤตมาก ถือว่าหนักมาในรอบ 30 ปี ชาวบ้านอำเภอหนองเสือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลต่อถนนเลียบคลองต่าง ๆ เมื่อน้ำแห้งมาก ๆ จะทำให้พื้นถนนทรุดตัว ส่วนเครื่องสูบน้ำขนาดหน้ากว้าว 30 นิ้ว 25 นิ้ว และ 20 นิ้ว ที่ใช้สูบน้ำจากคลอรังสิตประยูรศักดิ์นี้
มีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ได้ประสานมาช่วยนำเครื่องสูบน้ำและมอบเงินอีก 100,000 บาท มาเพื่อช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกร อีกทั้งยังได้รับบริจาคมาจากผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ เราทุกคนได้ร่วมมือร่วมใจกัน นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ช่วงแล้งปีนี้มาไว้กว่าที่คิดและคาดว่าน่าจะมีระยะเวลานานมากอย่างน้อยถึง 4-5 เดือน เนื่องจากภัยแล้งปีนี้มาไว้มาก ระบบน้ำของชลประทานเริ่มมีปัญหา ในเบื้องต้นทาง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง และทีมคนรักปทุม ก็พอที่จะดูแลได้เพียงเบื้องต้น เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนแต่ในระยะยาวหากไม่มีหน่วยงานราชการ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาช่วยดูแล ชาวบ้านภาคเกษตรกรต่างได้รับความเดือดร้อยหนักอย่างแน่นอน อยากจะฝากถึงหน่วยงานทางอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานจังหวัด
ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเข้าสู่วิกฤตภัยแล้งแล้ว แต่ยังไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง ดังนั้นงบประมานจากหน่วยงานต่าง ๆ จึงไม่สามารถนำงบประมานมาใช้ได้ หรือแม้แต่น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของระบบประปาเริ่มมีปัญหาแล้ว ทางจังหวัดต้องประสานให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูและพี่น้องชาวอำเภอหนองเสือ นอกจากนี้หากเราสามารถสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามายังคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อส่งน้ำไปยังคลองซอยต่าง ๆ ให้ชาวเกษตรกรใช้เลี้ยงดูแลพืชผลทางการเกษตร พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง กล่าวว่า หลังจากทราบว่าประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจึงได้ลงพื้นที่พูดคุยกับพี่น้องประชาชน พบว่า เกษตรกรต่างได้รับความเดือดร้อนกันมากจากภัยแล้ง โดยเฉพาะอำเภอคลองหลวงและอำเภอหนองเสือการตั้งเครื่องสูบน้ำที่คลอง 11 นั้น หากสูบน้ำได้ปริมาณที่มากพอจะช่วยชาวบ้านได้เป็นจำนวนมาก เพราะคลอง11 เป็นเส้นยุทธศาสตร์สามารถระบายน้ำไปสู่คลองต่างได้ทั้งสองอำเภอ
อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข จะไปรอหลังปีใหม่ไม่ได้ เพราะปัจจุบันชาวบ้านก็ยังคงเดือดร้อนอยู่ ต้องช่วยกันเองแล้ว โดยการนำของนายวิสานท์ แสวงหา นายก อบต.บึงบา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ต่างมารวมกันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ได้รวบร่วมเงินบริจาค ซื้อน้ำมันเพื่อใช้กับเครื่องสูบน้ำ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เห็นเข้ามา ดูแลหากเราสูบน้ำจากเจ้าพระยาเข้ามาได้ก็จะส่งผลดีต้องเกษตรกรและป้องกันถนนทรุดได้เป็นอย่างดี แต่หน่วยงานของรัฐกลับมองว่า หากสูบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามาแล้วจะส่งผลกระทบนำให้น้ำเค็ม เข้ามาในพื้นที่ประตูน้ำสำแล ที่เป็นแหล่งน้ำประปาของชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งการบริหารจัดการน้ำควรจะเป็นระบบมากกว่านี้ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ทราบถึงระบบน้ำของชลประทานที่ทำระบบไว้อย่างไร แต่ผมเห็นว่าชาวบ้านเขาเดือดร้อน ผมเองก็เป็นคนปทุมธานี มีประชาชนและเกษตรหลายพันหลังค่าเรือนได้รับความเดือนร้อนมาเป็นเดือนแล้วจึงอยากให้หน่วยงานของภาครัฐเร่งแก้ไขโดยด่วน เราทำอะไรได้ก็ต้องทำ อย่าให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อนจนถึงที่สุด แล้วค่อยมาทำมาแก้.มันก็จะสายไปแล้วพืชผลเกษตรมันรอไม่ได้
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ รายงาน